มารู้จักกับ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล Leave a comment

มารู้จักกับ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ถูกกำหนดขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้มีประสิทธิภาพและให้มีมาตรการเยียวยาให้กับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจากการถูกละเมิดสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคล เนื่องจากในปัจจุบันระบบอินเทอร์เน็ตมีบริการต่าง ๆ เพิ่มขึ้นมาทุกวัน เช่น บริการธนาคารออนไลน์ (Internet Banking) ,บริการสังคมออนไลน์ (Social Network) ,บริการสตรีมมิ่ง (Streaming) ซึ่งบริการเหล่านี้ จะต้องให้ผู้เข้ามาใช้บริการลงทะเบียนเพื่อยืนยันตัวตนเสียก่อน จึงจะสามารถใช้งานระบบได้ ทั้งนี้ประโยชน์เพื่อความปลอดภัยของระบบ ความน่าเชื่อถือของบริการต่อผู้ใช้งาน หรือการนำข้อมูลไปปรับปรุงการให้บริการ ไม่ว่าจะเป็นบริการบนเว็บบราวเซอร์ หรือแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนก็ตาม

 

ด้วยเหตุผลต่าง ๆ ในการร้องขอข้อมูลส่วนบุคคลจากผู้ใช้งาน ทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลของคนไทยจำนวนมหาศาลถูกเก็บไว้กับผู้ให้บริการต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ต โดยข้อมูลส่วนบุคคลเหล่านี้อาจถูกผู้ไม่หวังดีนำมาเผยแพร่เพื่อ นำไปขายให้กับธุรกิจโฆษณา หรือนำไปใช้ในทางที่ผิดกฎหมายก็ตาม ซึ่งในอดีตนั้นมีมาแล้วหลายครั้ง จึงทำให้ประเทศไทยต้องออก พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์ในตอนต้น

เราลองมาดูว่าพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนั้นมีส่วนสำคัญอะไรบ้างที่เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล

  • การให้ความหมายของคำว่า “ข้อมูลส่วนบุคคล” ว่าเป็นข้อมูลเกี่ยวกับตัวบุคคลที่ระบุถึงตัวบุคคลไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ยกเว้นข้อมูลของผู้เสียชีวิต
  • การกำหนดสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ในการเข้าถึงข้อมูลของตน พร้อมทั้งสิทธิในการให้ข้อมูลหรือระงับข้อมูลของตน
  • ผู้ที่จะทำการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล จนไปถึงการนำข้อมูลไปเปิดเผย จะต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลเสียก่อน
  • กำหนดให้มีหน่วยงานของรัฐที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  • การกำหนดความผิดและการลงโทน ในการฝ่าฝืน พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

 หลังจากที่เรารู้จักกับส่วนสำคัญของ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล แล้ว เราจะต้องปรับตัวอย่างไรบ้าง ลองมาดูกัน

เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

  1. ต้องอ่านคำขอในการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลให้ระเอียด ว่าจะมีการเก็บข้อมูลส่วนใดบ้าง เข้าถึงข้อมูลเรามากน้อยเพียงใด หรือจะนำข้อมูลของเราไปเผยแพร่หรือไม่
  2. รู้ถึงสิทธิ์และหน้าที่ของเรา ที่เป็นเจ้าของข้อมูล
  3. แบ่งข้อมูลของเราให้เป็นระดับต่าง ๆ ที่สามารถเผยแพร่ได้

สำหรับผู้ขอเก็บข้อมูล

  1. จะต้องขออนุญาตจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเท่านั้น ในการเก็บหรือเข้าถึงข้อมูลของเจ้าของ
  2. มีระบบการขอเก็บข้อมูลและการยกเลิกการเก็บข้อมูลทีง่ายต่อการใช้งานของเจ้าของข้อมูล
  3. มีระบบการเก็บข้อมูลที่ปลอดภัย เพื่อลดการสูญหายหรือการเข้าถึงข้อมูลจากผู้ไม่ประสงค์ดี

จากส่วนสำคัญของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนั้น จะเห็นว่า พรบ.ฉบับนี้ ต้องการคุ้มครองเจ้าของข้อมูลจากการทำธรุกรรมบนอินเทอร์เน็ต จนไปถึงควบคุมการส่งต่อซื้อขายข้อมูลที่ไม่ได้รับอนุญาติจากเจ้าของข้อมูลเพื่อรักษาสิทธิ์ของเจ้าของข้อมูลให้มากที่สุด

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *